จากคดียักยอกเงินของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าฯ พันหกร้อยกว่าล้านบาท จนเกิดปัญหาเรื่องรถหรูของบอย ปกรณ์
และคดียักยอกเงินสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่นอีกหมื่นกว่าล้านบาท แล้วมีการนำเงินไปถวายพระราชภาวนาวิสุทธิ์ เจ้าอาวาสวัดธรรมกายนั้น
พ.ต.อ.สีหนาท ประยูรรัตน์ เลขาธิการ ปปง. แถลงทั้งสองกรณีไว้ว่า
"กรณีรถหรู ยี่ห้อลัมโบร์กินีของ บอย-ปกรณ์ ฉัตรบริรักษ์ นักแสดงชื่อดังช่อง 3 คณะกรรมการธุรกรรมพิจารณาคดีมีมติให้ยึดรถลัมโบร์กินีของนายปกรณ์ เนื่องจากเห็นว่าเป็นทรัพย์สินที่นายกิตติศักดิ์ มัทธุจัด ผู้ต้องหาคนสำคัญคดียักยอกเงิน สจล. คาดว่านายกิตติศักดิ์ นำเงินที่ยักยอกมาซื้อรถ ปปง. ลงมติให้อายัดรถดังกล่าวไว้ก่อน
ทั้งนี้ทั้งนั้น เชื่อว่านายปกรณ์ ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องเครือข่ายผู้กระทำผิด เพียงแต่นายปกรณ์ ซื้อรถจากนายกิตติศักดิ์ ไม่ได้ซื้อจากตลาดหรือผู้ประกอบการโดยตรง หลังจากนี้จะประสานให้นายปกรณ์ นำรถคันดังกล่าวมาให้ ปปง.โดยเร็ว หากเจ้าตัวต้องการครอบครองรถเพื่อนำไปใช้ในระหว่างรอการพิสูจน์ของเจ้าหน้าที่ สามารถทำได้ โดยนำหลักทรัพย์มูลค่าเท่ากับราคารถลัมโบร์กินี ตามราคาที่ผู้เชี่ยวชาญประเมินมายื่นเรื่องที่ ปปง.ได้ หลังจากนี้ หากศาลมีคำตัดสินดุลพินิจให้ยึดก็ต้องปฏิบัติตามนั้น"
"ส่วนกรณีเงิน 714 ล้านบาท เงินบริจาคที่นายศุภชัยสั่งจ่ายเช็ค ๑๕ ฉบับ ให้กับวัดธรรมกาย ๗๑๔ ล้านบาท ปปง.ไม่สามารถอายัดได้ เพราะตามกฎหมายธรณีสงฆ์และศาสนสมบัติ ถือเป็นทรัพย์ของแผ่นดิน แต่ทราบมาว่า ทางวัดจะคืนเงินให้สหกรณ์เครดิตยูเนียนคลองจั่น ซึ่งเป็นผู้เสียหาย เพราะหากไม่คืน สหกรณ์ฯ มีสิทธิ์ยื่นฟ้อง ขอให้ศาลสั่งให้คืนเงินที่ได้ไปจากการยักยอก"
คลิกที่รูปเพื่อขยาย
สำเนาเช็คฉบับละ 100 ล้านบาทที่เจ้าอาวาสวัดธรรมกายรับจากประธานสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น
--------------
จากทั้งสองคดีข้างต้นนี้ ผมมีความเห็นว่า ป.ป.ง. ค่อนข้างมั่วและ 2 มาตรฐาน เพราะ
ถ้าเอาตามกฎหมายจริง ๆ กรณีของ บอย ปกรณ์ ไม่เข้าข่ายรับของโจร เพราะรถคันนี้ผู้ต้องหาที่หลบหนีคดีก็ได้ซื้อมาอย่างถูกต้องตามกฎหมาย (ไม่ได้ขโมยรถมา)
และบอย ปกรณ์ก็ซื้อรถต่อมาอย่างถูกต้องตามกฎหมาย แถมในสัญญาซื้อขายรถ บอย ปกรณ์ บอกว่า มีเขียนว่า หากรถคันนี้มีปัญหาใด ๆ ฝ่ายผู้ขายต้องคืนเงินให้ บอย ปกรณ์
สรุป กรณี บอย ปกรณ์ นั้น ป.ป.ง นั่นแหละผิดพลาด ทั้งที่ต้องคืนรถให้บอย ปกรณ์ เพราะพิสูจน์แล้วว่า เขาซื้อมาอย่างถูกต้อง เพราะได้รถมาอย่างถูกต้อง (แม้ผู้ต้องหาที่หนีคดีจะใช้เงินจากการยักยอกทรัพย์มาซื้อก็ตาม)
มันต่างกรรม ต่างวาระ คนละกรณีกับซื้อของโจร เพราะรถของบอยไม่ได้ถูกขโมยมา เพราะผู้ต้องหาได้ไปซื้อรถมาอย่างถูกต้อง เพียงแต่ที่มาของเงินที่นำไปซื้อใม่ถูกต้อง เพราะเป็นเงินที่เกิดจากการยักยอก
ส่วนกรณีของวัดธรรมกายนั้น ป.ป.ง.ก็ผิดพลาดอีก เพราะ ป.ป.ง.ควรตั้งสมมุติฐานไว้ก่อนว่า สมีนะจ๊ะแห่งวัดธรรมกายอาจมีส่วนสมรู้ร่วมคิดในฟอกเงินของผู้ยักยอกเงินก็ได้
เพราะนี่ไม่ใช่การรับของหรือซื้อของแบบกรณีรถของบอย ปกรณ์ แต่เป็นการรับแคชเชียร์เช็คฉบับละ100 ล้านบาทหลายฉบับ ซึ่งมีชื่อ พระราชภาวนาวิสุทธิ์ หรือสมีนะจ๊ะ เป็นผู้รับเงิน
สรุปคือ ป.ป.ง. กำลังมั่วทั้งสองคดีครับ
กรณีบอย ปกรณ์ ไม่ได้ซื้อของโจร ควรคืนรถให้บอยไป
ส่วนหน้าที่ของ ป.ป.ง.คือไปไล่ตามเอาเงินจากผู้ต้องหาคืน ไม่ใช่มายึดทรัพย์ของบอยแทน เพราะบอยซื้อทรัพย์มาโดยสุจริต
แต่กรณีของสมีนะจ๊ะอาจเข้าข่ายรับเงินโจร ครับ ต้องยึดเงินไว้ก่อน แล้วพิสูจน์ว่าไม่ได้มีส่วนรู้เห็นในการฟอกเงิน
แล้วถ้าเป็นเงินที่มาจากการยักยอก แม้วัดอาจไม่ได้รู้เห็นการยักยอก ก็ต้องให้วัดคืนเงินแก่ผู้เสียหายในคดีสหกรณ์เครดิตยูเนียนไป
---------------------
อัพเดทข่าวล่าสุด
ต่อมา ป.ป.ง. สรุปว่า บอย ปกรณ์ไม่มีความผิด และได้ส่งคืนรถให้บอย ปกรณ์แล้ว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
ร่วมฮาแม้วจรจัด!! ถ้าไม่ชอบก็ผ่านไป ถ้าชอบใจก็ขอเสียงเชียร์ และขออภัยหากทำให้พวกคาราบาวแดงกระอัก ^^