ภิกษุใดปกป้องสมีปาราชิกให้เป็นสงฆ์ต่อไป ย่อมถือว่า ภิกษุนั้นปาราชิกขาดจากความเป็นสงฆ์เช่นกัน
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๘ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๘ ปริวาร
(๑๐๕๒) ข้อ ต. เพราะอาปัตตาธิกรณ์เป็นปัจจัย ภิกษุต้องอาบัติ ๔ ตัว คือ
**๑ ภิกษุณีรู้อยู่ ปกปิด ปาราชิกธรรมอันภิกษุณีต้องแล้ว ต้องอาบัติปาราชิก**
เทียบเคียงเฉกเช่นเดียวกัน ถ้าภิกษุรูปใดรู้อยู่ปกปิดปาราชิกธรรมอันภิกษุต้องแล้ว ต้องอาบัติปาราชิกเช่นกัน
สมเด็จช่วงช่วง ท่านจึงปาราชิกขาดจากความเป็นสงฆ์แล้วเช่นกัน จากการปกป้องธัมมชโย ว่ายังไม่ปาราชิก
สรุปคือ ถ้าจะปฏิรูปมหาเถรสมาคม ต้องเอาอลัชชีที่สนับสนุนสมีธัมมชโย ออกยกคณะ ซึ่งมีทั้งหมด 12 รูปที่สนับสนุนธัมมชโยว่า ยังไม่ปาราชิก
ซึ่งที่จริงแล้ว ผู้อาบัติปาราชิกได้เป็นสมีแล้วโดยอัตโนมัติ โดยไม่ต้องมีพระลิขิตของสมเด็จพระสังฆราชฯ มาตัดสินด้วยซ้ำ
แต่เมื่อสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จสังฆราชฯ ทรงมีพระลิขิตวินิจฉัยว่า ธัมมชโยได้ปาราชิกไปแล้ว คือขาดจากความเป็นสงฆ์ทันที ไม่อาจคืนสถานะพระได้อีก
สมีที่แอบอ้างเป็นพระต่อไป ย่อมมีมหาอเวจีนรกรออยู่ในภพหน้า
ส่วนไอ้พวกที่ยังสนับสนุนสมีให้ครองงผ้าเหลืองไว้ ก็ย่อมมีนรกอเวจีรออยู่เช่นกัน
/ใหม่เมืองเอก
----------------
ทำไมถึงว่า กรรมการ มส. ปาราชิก ยกคณะ ?
ก็ขอให้คุณผู้อ่าน อ่านข่าวนี้จากไทยรัฐ และจากปากของพระพรหมเมธี โฆษกมหาเถรสมาคม ดูครับ
http://imgur.com/gOIQvLy
เห็นไหมครับ เพราะ กรรมการ มส. กลัวว่า พวกตนจะอาบัติปาราชิกไปด้วย จากเหตุที่คืนสถานะพระให้กับธัมมชโยเมื่อปี 2549 แถมมีการเลื่อนสมณศักดิ์ให้ธัมมชโยอีกในปี 2554
เท่ากับมีกรรมการ มส. หลายรูป สมรู้ร่วมคิดสนับสนุนสมีธัมมชโยให้เป็นภิกษุต่อมาจนถึงปัจจุบัน
จึงไม่ได้มีแค่ กรรมการ มส. 12 รูปในปี 2558 เท่านั้นที่ร่วมปาราชิกเพราะยังรับรองสถานะพระของธัมมชโย หากยังมีกรรมการ มส. ที่เคยลงมติคืนสถานะพระให้ธัมมชโยเมื่อปี 2549 อีกด้วย (ซึ่งผมไม่รู้ว่า ในตอนนั้นมีกรรมการ มส. รูปใดบ้างที่ลงมติ 2549 คืนสถานะพระให้ธัมมชโย)
------------------
เจ้าคณะตำบลคลอง 4 มีคำสั่งให้ธัมมชโยเป็นเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกายดังเดิม
ลองฟังชัด ๆ ที่พระพรหมเมธี โฆษก มส. แถลงเมื่อวันที่ 27 ก.พ. 2558 ที่ผ่านมสว่า เจ้าคณะตำบลคลอง 4 จังหวัดปทุมธานี ได้มีคำสั่งคืนสถานะพระและให้ธัมมชโยกลับไปเป็นเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกายดังเดิม เหตุเพราะโจทก์ที่เคยฟ้องธัมมชโยถอนฟ้อง และอัยการสูงสุดถอนฟ้อง แล้ว
ผม akecity จึงถามว่า คำสั่งสมเด็จพระสังฆราชให้ต้องอาบัติปาราชิกทันที กับ คำสั่งเจ้าคณะตำบลคลอง 4 ที่คืนสถานะพระให้ธัมมชโย อย่างไหนถือเป็นกฎหมายสูงสุด ?
(คำสั่งเจ้าคณะตำบลคลอง 4 ก็ต้องมีมติมหาเถรฯ ให้การรับรอง)
ให้ดูนาทีที่ 13.00 พระพรหมเมธี อ้างคำสั่งเจ้าคณะตำบลคลอง 4 จ.ปทุมธานีได้มีคำสั่งคืนความเป็นพระให้สมีธัมมชโยแล้ว
ซึ่งทุกวันนี้ ผมยังไม่เคยเห็นมติมหาเถรสมาคมเมื่อปี 2549 ที่มีมติคืนสถานะพระให้กับ ธัมมชโย หมายถึง ยังไม่มีสื่อใดนำมาเผยแพร่ หรือมีเพียงคำสั่งเจ้าคณะตำบลคลอง 4 เท่านั้น ? อันนี้ผมยังสงสัย
แต่ผมขอลำดับเวลาให้คุณผู้อ่านพอเห็นภาพ
คือ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จสังฆราชฯ ทรงมีพระลิขิตว่า ธัมมชโยได้ปาราชิกแล้ว มาตั้งแต่พ.ศ. 2542
แต่ธัมมชโยได้คืนทรัพย์สินที่เป็นคดีแก่วัดในปี 2549 เท่ากับธัมมชโยยึดทรัพย์เกินกว่า 1 บาทไว้เป็นของตนเองนานกว่า 7 ปี แต่ธัมมชโยยังแถหน้าด้าน ๆ ว่า ไม่มีเจตนายึดทรัพยฺ์ไว้เป็นของตน
ทั้ง ๆ ที่ ถ้ายึดดามกฎหมายสงฆ์สมัยรัชกาลที่ 1 ถ้าพระยึดถือทรัพย์เกินกว่า 1 บาทเป็นของตนนานเกิน 10 วัน ก็ถือว่า มีเจตนายึดทรัพย์เป็นของตนไปแล้ว มีเหตุให้ต้องอาบัติปาราชิกทันที (ซึ่งเคยมีคดีเปรียบเทียบสมัย ร.1 คือ คดีสมีรัก วัดบางหว้าใหญ่)
แนะนำอ่านรายละเอียด คลิกอ่านย้อนคดีธัมมชโยยักยอกทรัพย์วัดพระธรรมกาย
เพราะพระลิขิต ระบุว่า "การไม่ยอมคืนสมบัติให้วัด ในขั้นต้นอาจมิใช่มีเจตนาถือเอาเป็นของตน แต่เมื่อถึงอย่างไร ก็ยังไม่ยอมมอบคืนสมบัติทั้งหมดที่เกิดขึ้นในขณะเป็นพระให้แก่วัดก็แสดงชัดแจ้งว่าต้องอาบัติปาราชิก ต้องพ้นจากความเป็นสมณะโดยอัตโนมัติ ต้องถูกจัดการอย่างเด็ดขาด เช่นเดียวกับผู้ไม่ใช่พระปลอมเป็นพระ ด้วยการนำผ้ากาสาวพัสตร์ไปครอง ทำความเศร้าหมองเสื่อมเสีย ให้เกิดแก่สงฆ์ในพระพุทธศาสนา "
http://imgur.com/s6arttp
แม้คดีอาญาฐานยักยอกทรัพย์ จะยอมความกันได้เมื่อเจ้าทุกข์ถอนฟ้อง หรือจำเลยได้คืนทรัพย์แก่เจ้าของแล้ว แต่ไม่ได้แปลว่า จำเลยไม่ผิด !!
ความผิดอาญาฐานยักยอกทรัพย์เกิดขึ้นแล้ว ถ้าในทางพระธรรมวินัยถือว่า พระที่ยักยอกทรัพย์ได้ปาราชิกแล้ว
แต่เพราะธัมมชโยเป็นเจ้าอาวาสวัด ซึ่งตามกฎหมายถือว่า เจ้าอาวาสวัดเป็นเจ้าหน้าที่รัฐ แต่กลับยักยอกทรัพย์วัดเป็นของตน ก็ถือว่า มีความผิดอาญาฐานเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ มีความผิดตาม ปอ.มาตรา 157 เช่นกัน ซึ่งเป็นความผิดอาญาที่ยอมความไม่ได้
แต่อัยการสูงสุดในเวลานั้นเสือกถอนฟ้องคดีอาญาแก่ธัมมชโย ด้วยเพราะอิทธิพลทางการเมืองในขณะนั้น
ซึ่งที่จริงควรย้อนกลับไปเอาผิดอัยการสูงสุดในเวลานั้นด้วยซ้ำที่ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบในการถอนฟ้องคดีอาญาแก่ธัมมชโย
---------------------
ทักษิณ ช่วย ธัมมชโย
ในปี 2547 ทักษิณ ได้แต่งตั้งสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ) เป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนสมเด็จพระสังฆราช ซึ่งมีเสียงคัดค้านจากหลายฝ่ายเช่น หลวงตามหาบัว แต่ก็ไม่อาจต้านทานอำนาจทางการเมืองของทักษิณได้
เมื่อสมเด็จเกี่ยว ได้ปฏิบัติหน้าที่แทนสมเด็จพระสังฆราช ก็ทำหน้าที่ประธานกรรมการ มส. ที่มีมติได้คืนสถานะพระให้กับธัมมชโย ในปี 2549 และเลื่อนสมณศักดิ์ให้ธัมมชโยในปี 2554
เมื่อสมเด็จเกี่ยวตายไปแล้วในปี 2557 ผมก็ถือว่า อโหสิกรรมกันไป (แล้วรัฐบาลยิ่งลักษณ์ก็แต่งตั้งสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ ขึ้นมาแทนสมเด็จเกี่ยว)
คงเหลือแต่สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนสมเด็จพระสังฆราชในปัจจุบัน ซึ่งสมเด็จช่วงได้เป็นกรรมการ มส. มาตั้งแต่ปี 2538 ซึ่งเป็นพระเพียงรูปเดียวในวันนี้ ที่ดำรงตำแหน่งเป็น กรรมการ มส. ก่อนที่จะมีพระลิขิตฉบับ 16/2542 ที่วินิจฉัย ธัมมชโย ให้อาบัติปาราชิก
จึงเท่ากับสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ได้ปาราชิกตามธัมมชโยไปแล้วเช่นกัน เพราะสมเด็จช่วงอยู่เป็นกรรมการ มส. มาตั้งแต่ก่อนมีพระลิขิต 2542 และอยู่ในกรรมการ มส. ชุดที่มีมติคืนสถานะพระให้ธัมมชโยในปี 2549 ด้วย
แต่ที่แน่ ๆ 12 กรรมการ มส. ที่อุ้มธัมมชโยในวันนี้ เท่ากับได้ปาราชิกยกคณะทันทีตามพระธรรมวินัย
โดยมีกรรมการมหาเถรฯ จากฝ่ายมหานิกายทั้ง 10 รูปสนับสนุนให้ธัมมชโยเป็นพระต่อไป
ส่วนกรรมการมหาเถรฯ จากฝ่ายธรรมยุติกนิกาย มีเพียง 2 รูป เท่านั้่น คือ พระมหาวีรวงศ์ และพระพรหมเมธี (โฆษก มส.) จากวัดสัมพันธวงศ์ สนับสนุนให้ธัมมชโยเป็นเจ้าอาวาสต่อไป
แต่เพราะพระมหาวีรวงศ์ เจ้าอาวาสวัดสัมพันธวงศ์อาพาธเพราะชราภาพ จึ
ไม่ได้เข้าร่วมประชุม มส. แต่เชื่อว่า พระพรหมเมธี รองเจ้าอาวาสได้ใช้สิทธิของเจ้าอาวาสเองอีกสิทธิในการลงมติรับรองธัมมชโย
คลิกที่รูปเพื่อขยาย
http://imgur.com/qN7CXgs
---------------------------
อัพเดทข่าว
เมื่อวันที่ 7 ก.พ. 2560 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 10 ทรงมีพระบรมราชโองการสถาปนาสมเด็จพระมหามุนีวงศ์ วัดราชบพิธ ขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราชฯ องค์ที่ 20 แล้ว
ซึ่งผมได้กลับมาไล่ย้อนอ่านบทความนี้อีกรอบ ก็เห็นว่า สมเด็จพระมหามุนีวงศ์ ทรงเหมาะสมที่จะเป็นสมเด็จพระสังฆราชฯ องค์ที่ 20 ด้วยประการทั้งปวง เหตุเพราะพระองค์ทรงไม่ได้สนับสนุนให้ธัมมชโยเป็นพระต่อไป ในมติ มส. ปี 2558
สมเด็จพระมหามุนีวงศ์ ทรงเป็นพระ 1 ใน 8 รูปของกรรมการ มส. สายธรรมยุต ที่ได้ลงมติสนับสนุนให้ธัมมชโยไม่ขาดจากความเป็นพระ พระองค์จึงไม่มีส่วนในการปาราชิกยกคณะ ตามที่บทความนี้ได้อธิบายไว้ครับ
คลิกอ่าน พลเอกประยุทธ์ต้องปกป้องพระลิขิตของสมเด็จพระสังฆราชทั้ง 5 ฉบับ เอาผิดธัมมชโย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
ร่วมฮาแม้วจรจัด!! ถ้าไม่ชอบก็ผ่านไป ถ้าชอบใจก็ขอเสียงเชียร์ และขออภัยหากทำให้พวกคาราบาวแดงกระอัก ^^