วันพฤหัสบดีที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2559

เหตุที่แก้ พ.ร.บ.สงฆ์ มาตรา 7 ในปี 2535 และ 2559







การแก้ไข พ.ร.บ.สงฆ์ เมื่อปี 2535 เกิดขึ้นในสมัยนายอานันท์ ปันยารชุน เป็นนายกรัฐมนตรี หลังเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ

โดยเฉพาะการแก้ไขมาตรา 7 กรณีการสถาปนาสมเด็จพระสังฆราช

ก่อนอื่นย้อนดู พ.ร.บ.สงฆ์ ตั้งแต่ พ.ศ. 2484 กับ พ.ศ. 2505 กันก่อนครับ

พ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ. 2484 มาตรา 5 พระมหากษัตริย์ทรงสถาปนาสมเด็จพระสังฆราชฯ (พ.ศ. 2484 อยู่ในรัชสมัย ร.8)

พ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 มาตรา 7 พระมหากษัตริย์ทรงสถาปนาสมเด็จพระสังฆราชฯ (พ.ศ. 2505 อยู่ในรัชสมัย ร.9)

พูดง่าย ๆ ว่า การสถาปนาตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก เป็นพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์มาโดยตลอด โดยจะทรงเลือกจากสมเด็จพระราชาคณะที่มีอยู่

โดยหลักประเพณีนิยมที่ผ่านมา ผู้ที่ได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราชฯ นั้น กล่าวคือ พระมหากษัตริย์ทรงมักเลือกจากสมเด็จพระราชาคณะที่มีพรรษาสูงสุด แต่ไม่ใช่ข้อบังคับว่า จะต้องตายตัวแบบนี้เท่านั้น

จนเมื่อในหลวง ร.9 ได้สถาปนาสมเด็จพระสังฆราช พระองค์ที่ 19 คือ สมเด็จพระญาณสังวร ขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราช นั้น

ในขณะนั้นสมเด็จพระญาณสังวร ทรงไม่ใช่สมเด็จพระราชาคณะที่มีพรรษาสูงสุด แต่มีสมเด็จพระราชาคณะในสายมหานิกายที่มีพรรษาสูงสุดอยู่

ดังนั้นจึงเกิดกระแสไม่พอใจแบบคลื่นใต้น้ำจากฆราวาสกลุ่มการเมืองของพระที่มีพรรษาสูงสุดในสายมหานิกาย ด้วย (ขออภัยผมจำชื่อและรายละเอียดตรงนี้ไม่ได้ เพราะช่วงนั้นผมยังเด็ก ไม่ได้สนใจข่าวมากนัก แต่ผู้ใหญ่เล่าให้ฟัง)

อีกทั้งสมเด็จพระสังฆราช พระองค์ก่อนหน้าคือ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (วาสน์ วาสโน) ทรงเป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 18 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สถิต ณ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร

ซึ่งสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 18 นี้ พระองค์ก็ทรงมาจากสายธรรมยุติกนิกาย


สมเด็จพระสังฆราช พระองค์ที่ 18 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

แล้วเมื่อสมเด็จพระญาณสังวร ซึ่งทรงเป็นพระสายธรรมยุตจากวัดบวรนิเวศน์ ทรงขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราชฯ พระองค์ที่ 19 อีก ก็เท่ากับมีสมเด็จพระสังฆราชจากธรรมยุติกนิกายติดต่อกัน 2 สมัย 

ซึ่งแม้ไม่มีข้อห้ามว่า ห้ามนิกายใดเป็นติดต่อกัน เพราะก็เคยมีติดต่อมาแล้ว แต่ในกรณีสมเด็จพระญาณสังวร จึงทำให้เกิดประเด็นเรื่องนิกายเพิ่มขึ้นมาอีกเรื่อง 

เพราะวัดในประเทศไทยส่วนใหญ่เป็นวัดมหานิกาย การที่ฝ่ายธรรมยุติกนิกายขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราชฯ ติดต่อกันถึง 2 สมัย จึงมักเกิดกระแสต่อต้านธรรมยุตแบบคลื่นใต้น้ำทุกครั้ง

แต่ถ้าฝ่ายมหานิกายเป็นสมเด็จพระสังฆราชฯ ติดต่อกันมักไม่ค่อยมีปัญหา


ดังนั้นก็เลยมีฆราวาสกลุ่มการเมืองสายวัดจากสายมหานิกายเกิดความไม่พอใจ ที่พระที่ตนเคารพศรัทธา ที่พวกตนคาดหวังไว้ว่าจะได้ขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 19  จึงเกิดความผิดหวัง

เพราะกลุ่มคนพวกคลื่นใต้น้ำพวกนี้คงคาดไว้ว่า ตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชควรมาจากสมเด็จพระราชาที่มีพรรษาสูงสุด (รวมทั้งควรมีสับเปลี่ยนหมุนเวียนกัน ระหว่างสายมหานิกาย กับ สายธรรมยุติกนิกาย บ้าง)

เมื่อสมเด็จพระญาณสังวร ไม่ได้มีพรรษาสูงสุดในเวลานั้น แถมสายธรรมยุติกนิกายยังข้ามสมเด็จพระราชาคณะจากมหานิกายที่มีพรรษาสูงสุดในขณะนั้นอีก

ประเด็นทั้งพรรษาน้อยกว่า ยิ่งมาบวกกับประเด็นข้ามหน้าข้ามตาพระฝั่งมหานิกายเข้าไปอีก จึงเกิดเป็นความไม่พอใจแบบคลื่นใต้น้ำขึ้น

ซึ่งกลุ่มที่ไม่เห็นด้วยกับการสถาปนาสมเด็จพระญาณสังวรขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 19 ของในหลวง ร.9 นั้น ก็ถึงขนาดแอบวิพากษ์วิจารณ์ทำนองว่า เพราะในหลวง ร.9 ทรงสนิทกับสมเด็จพระญาณสังวรเป็นพิเศษ เพราะสมเด็จพระญาณสังวร ทรงเคยเป็นพระพี่เลี้ยงให้ในหลวงเมื่อครั้งทรงผนวช ในหลวงจึงทรงเลือกสมเด็จพระญาณสังวร สถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราชฯ

แต่เมื่อเวลาผ่านไป กาลเวลาได้พิสูจน์ความจริงแล้วว่า สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช ทรงเปี่ยมด้วยความรู้ทางธรรมและทรงเปี่ยมล้นด้วยพระเมตตา จนเป็นที่ยอมรับจากพุทธศาสนิกชนทั่วโลก



ในหลวง ร.9 ทรงหลั่งน้ำสังข์ในพระราชพิธีสถาปนาสมเด็จพระสังฆราชฯ พระองค์ที่ 19 เมื่อ พ.ศ.2532 ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม

---------

ซึ่งที่จริงก็มีแต่ พวกฆราวาสสายวัดเองเท่านั้นแหละที่ไม่พอใจ คิดแบ่งแยกนิกายสงฆ์ให้แตกแยก ทั้ง ๆ ที่ ระดับสมเด็จพระราชาคณะทั้งจากมหานิกายและจากธรรมยุตทั้งหมด ต่างไม่มีความคิดแบ่งแยกแตกต่างในเรื่องสายนิกายหรือพรรษามากน้อย จนเกิดความไม่สามัคคีเลย

มีแต่พวกฆราวาสลูกศิษย์กันเอง รวมถึงพระลูกวัดบางรูปนี่แหละ ที่โกรธแทนพระอาจารย์ ที่คิดแบ่งแยกแตกความสามัคคีกันเอง 

------------------

ดังนั้น กลุ่มการเมืองที่ไม่พอใจจึงมีความพยายามแก้ไข พ.ร.บ.สงฆ์ ในมาตรา 7 เสียใหม่ จนใน พ.ศ.2535 จึงได้แก้ไขใหม่ได้สำเร็จ ตามนี้

"พระมหากษัตริย์ทรงสถาปนาสมเด็จพระสังฆราชองค์หนึ่ง ในกรณีที่ตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชว่างลง ให้นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของมหาเถรสมาคม  เสนอนามสมเด็จพระราชาคณะผู้มีอาวุโสสูงสุดโดยสมณศักดิ์ขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อทรวงสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราช ในกรณีที่สมเด็จพระราชาคณะผู้มีอาวุโสสูงสุดโดยสมณศักดิ์ไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ให้นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของมหาเถรสมาคมเสนอนามสมเด็จพระราชาคณะรูปอื่นผู้มีอาวุโสโดยสมณศักดิ์รองลงมาตามลำดับ และสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อทรงสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราช"

คุณผู้อ่าน พอมองเห็นภาพรึยังครับว่า มีพวกนักการเมืองในช่วง พ.ศ.2535 มีความคิดริดรอนพระราชอำนาจดั้งเดิมของพระมหากษัตริย์ไป จนทำให้เกิดมาเป็นปัญหาการสถาปนาสมเด็จพระสังฆราชขึ้นอีกครั้ง หลังจากสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชทรงสิ้นพระชนม์ลง

เหตุเพราะ สมเด็จพระราชาคณะที่มีอาวุโสสูงสุดโดยสมณศักดิ์ในเวลานี้ คือ สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ หรือสมเด็จช่วง ท่านมีปัญหาเกี่ยวข้องกับคดีความอาญา และยังมีปัญหาในการสนับสนุนธัมมชโยให้ยังเป็นพระต่อไป ทั้ง ๆ ที่ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จสังฆราชพระองค์ที่ 19 ทรงวินิจฉัยไปแล้วว่า ธัมมชโยปาราชิก

------------------

ปัญหาในวันนี้คืออะไร ?

คือ ถ้า สนช. ไม่แก้ พ.ร.บ.สงฆ์ มาตรา 7 ในวันนี้ พวกเราอาจได้สมเด็จพระสังฆราชที่มีคดีอาญาติดตัวในคดีเลี่ยงภาษีรถหรู

แถมถ้าเกิดสมเด็จช่วงได้เป็นสมเด็จพระสังฆราชไปแล้ว แล้วเกิดมีความผิดอาญาจริง อาจต้องสึกมาติดคุกรึเปล่า ??

ถึงแม้อาจไม่ติดคุก เพียงแค่โดนรอลงอาญาก็มัวหมองแล้ว

หากเป็นเช่นนั้น สมเด็จช่วง เกิดต้องโทษอาญามีความผิดจริง ก็จะเกิดความมัวหมองในตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชฯ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

ดังนั้น พลเอกประยุทธ์ ในฐานะนายกรัฐมนตรี จึงชะลอการทูลเกล้าชื่อสมเด็จช่วง ขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราช เพราะอาจเป็นการกระทำระคายเคืองเบื้องพระยุคลบาทได้ในภายหลัง

---------------------

สนช. แก้ พ.ร.บ.สงฆ์ มาตรา 7 สำเร็จแล้ว รอแค่ประกาศใช้

จนวันที่ 29 ธันวาคม 2559 สนช. ได้ผ่านร่างแก้ไข พ.ร.บ.สงฆ์ เพื่อถวายคืนพระราชอำนาจสถาปนาสมเด็จพระสังฆราชกลับมาที่พระมหากษัตริย์ดังเดิม  โดยผ่านทีเดียว 3 วาระรวด เป็น

"มาตรา 7 พระมหากษัตริย์ทรงสถาปนาสมเด็จพระสังฆราชองค์หนึ่งและให้นายกรัฐมนตรีลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ"


สาธุ สาธุ สาธุ ถวายคืนพระราชอำนาจให้ในหลวงเป็นการชอบแล้ว

-----------------

สรุปท้ายบทความ

ส่วนนายประสาร เมธีธรรมาจารย์ โล้นห่มเหลืองที่ขู่จะนำพระออกมาประท้วง ก็ขอให้รีบออกมาได้เลย

จะได้รู้กันว่า นายประสาร เมธีธรรมาจารย์ คิดต่อต้านพระราชอำนาจขององค์พระประมุขของชาติไทย จะได้เจอข้อหากบฏไปซะเลย คุกกำลังรออยู่

ว่าแต่นายประสาร น่ะ ก็แค่พวกหากินในผ้าเหลือง คงไม่กล้าหรอก คนพวกนี้มีแต่เห็นแก่อามิสเท่านั้น

ทั้ง ๆ ที่ นี่คือพระราชอำนาจดั้งเดิมของพระมหากษัตริย์ไทย

และตั้งแต่แก้ พ.ร.บ.สงฆ์ พ.ศ.2535 เป็นต้นมา ก็ยังไม่เคยมีการสถาปนาสมเด็จพระสังฆราชเลยสักครั้ง ฉะนั้นการแก้ไขให้กฎหมายกลับไปเป็นตามโบราณราชประเพณีดังเดิม จึงเป็นสิ่งที่ชอบแล้ว

คลิกอ่าน ในหลวง ร.9 กับวิถีพระโพธิสัตว์





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ร่วมฮาแม้วจรจัด!! ถ้าไม่ชอบก็ผ่านไป ถ้าชอบใจก็ขอเสียงเชียร์ และขออภัยหากทำให้พวกคาราบาวแดงกระอัก ^^