วันศุกร์ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2555
อัยการสูงสุด อัยเกิน อัยกาก ให้ร้ายศาลรธน.
บอกตามตรง ที่จริงบทความนี้ผมขี้เกียจเขียนมากๆ เพราะมันเป็นเรื่องเดิมๆ ติดกันมา2บทความแล้ว กับเรื่องอำนาจศาลรธน. กับหน้าที่อัยการสูงสุด ตามมาตรา68 ในรัฐธรรมนูญ50
แต่ก็จำเป็นต้องเขียน เพราะอัยการสูงสุดดันห่วยแตกเป็นไปตามที่ผมคาดไว้จริงๆ
ซึ่งข่าววานนี้ เริ่มด้วยศาลรธน. แถลงว่า ร่างรธน.ที่ศาลรธน.รับไว้พิจารณานั้น อาจเข้าข่ายความผิดตามมาตรา68 จึงรับไว้พิจารณา และศาลได้ตำหนิอัยการสูงสุดด้วยว่า อัยการรับเรื่องมานานกว่า3เดือนแล้ว ก็ยังไม่สรุปเสียที ผู้ยื่นคำร้องจึงมายื่นโดยตรงให้ศาลอีกทาง ซึ่งผมได้อธิบายไปแล้วว่า ศาลมีอำนาจในการรับเรื่องจากผู้ยื่นโดยตรง
คลิกอ่านข่าว
เพราะศาลเห็นว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญมาก จึงต้องรีบรับพิจาณาก่อนจะสายเกินไป
ศาลจึงขอความร่วมมือจากรัฐสภาว่า ขอให้สภาเลื่อนการลงมติวาระ3ไปก่อน ซึ่งศาลยังไม่ได้ตัดสินร่าง รธน. นั้นว่า ผิดตามคำร้องจริงหรือไม่?
ศาลแค่ขอเวลาพิจารณาร่างรธน.เพื่อความรอบคอบ เพราะนี่คือเรื่องสำคัญสูงสุดทีเดียว เพราะเป็นเรื่องความมั่นคงของชาติ ซึ่งศาลเคยบอกว่า หากวาระ3 จะช้าออกไปสักเดือนครึ่ง ก็ไม่น่าจะเสียหายอะไร
ทีนี้อัยการสูงสุด ก็เพิ่งมาลงมติตามหลังศาลว่า ร่างรธน.ที่อัยการรับไว้เมื่อ3เดือนที่แล้วนั้น ไม่เข้าข่ายเรืองการล้มล้างการปกครอง อัยการสูงสุดจึงลงมติว่าไม่ส่งคำร้องต่อศาลรธน. (ดองเรื่องไว้3เดือนเพื่อใครก็น่าจะรู้ ดองจนเป็นปัญหาวุ่นวาย)
คลิกอ่านข่าวอัยการลงมติ
ผมสรุปง่ายๆ เลยนะว่า อัยการทำเกินหน้าที่ เพราะอัยการมีหน้าที่ตรวจสอบข้อเท็จจริง แปลว่า ตรวจสอบคำร้องเท่านั้น ถึงแม้อัยการอาจเห็นว่าคำร้องมีมูลหรือไม่มีมูลก็ตาม แต่เรื่องสำคัญสุดๆ แบบนี้ อัยการก็ควรส่งให้ศาลพิจารณาตัดสินอีกชั้นจะดีที่สุด
อัยการไม่มีหน้าที่ตัดสินว่า ร่างรธน.นั้นเข้าข่ายล้มล้างการปกครองหรือไม่ เพราะหน้าที่ตัดสินเป็นหน้าที่ของศาลเท่านั้น
หน้าที่อัยการคือตรวจสอบข้อมูลคำร้องเรียน จัดเอกสารให้เรียบร้อย และมีหน้าที่ยื่นต่อศาลรธน. ให้วินิจฉัยตัดสิน
นี่ถ้าผู้ยื่นคำร้องไม่ไปยื่นต่อศาลโดยตรง คิดว่าเรื่องนี้อัยการสูงสุดคงดองไว้ตลอดชาติแน่ๆ
------------------------
อัยการสูงสุด มีเจตนาทำร้ายศาลรัฐธรรมนูญ
เพราะศาลเป็นองค์กรสูงสุดในระบบตุลาการ ในเมื่อศาลรัฐธรรมนูญมีมติรับคำร้องตามมาตรา68 ไปแล้ว อัยการสูงสุดควรให้เกียรติองค์กรสูงสุด ควรไม่ลงมติในเรื่องนี้อีกน่าจะดีกว่า โดยเฉพาะมติที่ขัดแย้งกับมติศาล
นี่จึงถือเป็นการผิดมารยาทของอัยการสูงสุดโดยแท้ เพราะหน้าที่อัยการมันควรลงมติตั้งนานแล้ว กับคำร้องในเรื่องสำคัญๆ แบบนี้
ที่ถูกที่ควรโดยมารยาท อัยการสูงสุดควรออกมาแถลงว่า เมื่อศาลรัฐธรรมนูญมีมติรับคำร้องไปแล้ว อัยการจึงไม่ขอออกความเห็นใดๆ อีก เพราะมติศาลคือมติสูงสุดในระบบตุลาการ ถือเป็นที่สุดแล้ว
เพราะอัยการแม้ไม่ส่งคำร้องให้ศาลเอง รัฐธรรมนูญก็ระบุให้ผู้ยื่นคำร้องก็มีสิทธิยื่นคำร้องโดยตรงต่อศาลได้ ฉะนั้นความเห็นอัยการไม่ได้มีความหมายเท่าไหร่นัก โดยเฉพาะมติอัยการหลังมติของศาล
อัยการสูงสุด จึงไม่ควรออกมาแสดงความเห็นหลังจากศาลมีวินิจฉัยรับคำร้องไปแล้ว เพราะมันสายเกินหน้าที่อัยการไปแล้ว
การที่อัยการสูงสุดออกมาลงมติไม่รับคำร้องภายหลังศาลมีมติรับคำร้องแล้ว จึงมองได้เลยว่า อัยการสูงสุดมีเจตนาให้ร้ายศาล สร้างความแตกแยกในสังคมวงกว้างให้เพิ่มมากขึ้น
เพราะพวกแดงชั่ว จะนำมติของอัยการสูงสุดมาโจมตีศาล และให้ร้ายศาลต่อไปแน่ๆ
ผมอธิบายแบบนี้ ถ้าอัยการสูงสุดยังไม่สำนึก
ผมก็เห็นว่า อัยการสูงสุด เป็นองค์กรที่เปลืองภาษีชาติจริงๆ
------------------
อัยการกับคดีอื่นๆ
หลายคดีในบ้านเมืองเรา ที่อัยการเคยมีความเห็นไม่สั่งฟ้อง แต่ผู้เสียหายเดินหน้าฟ้องร้องเอง และชนะคดีด้วย ซึ่งมีมากมาย
ฉะนั้น ความเห็นอัยการจึงไม่ใช่แปลว่าถูกต้องเสมอไป ความเห็นอัยการไม่ใข่คำตัดสิน!!
เพราะอัยการชอบทำเกินหน้าที่ ชอบทำตัวเป็นศาลตัดสินคดีเสียเอง
ผมว่าถึงเวลารื้ออำนาจหน้าที่อัยการเสียใหม่ ไม่ใช่อัยการสามารถพลิกคดีได้ด้วยความเห็นของอัยการเอง ถ้าแบบนี้ผมมองว่าอัยการกำลังเป็นภัยต่อบ้านเมืองครับ
สรุปเลยว่า อัยการควรมีหน้าที่ดำเนินคดีกับผู้ที่อัยการเห็นว่าผิดด้วยการส่งฟ้องศาล
แต่ในกรณีคดีใดที่อัยการมีความเห็นว่า ไม่มีมูลความผิด หรือหลักฐานไม่เพียงพอ อัยการไม่ควรมีหน้าที่ตัดสินคดีเอง ด้วยการไม่สั่งฟ้อง แต่อัยการควรส่งเรื่องให้ศาลตัดสินต่อไปเพื่อความถูกต้องเป็นธรรมที่สุดสำหรับทุกฝ่าย
คลิกอ่าน ความโง่ของนิติราษฎร์ฯ ตอน2
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
ร่วมฮาแม้วจรจัด!! ถ้าไม่ชอบก็ผ่านไป ถ้าชอบใจก็ขอเสียงเชียร์ และขออภัยหากทำให้พวกคาราบาวแดงกระอัก ^^