วันอาทิตย์ที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2556
คมช. ออกกฎหมายเอาผิดย้อนหลังทักษิณจริงหรือ ?
ย้อนดู คำพิพากษา คดีที่ดินรัชดา ของทักษิณ
คดีที่ดินรัชดา มันเริ่มต้นจาก การให้เบาะแสโดยกลุ่มข้าราชการกระทรวงการคลัง ที่ใช้ชื่อว่า "กลุ่มเป่านกหวีด" หรือ "Whistle blower" ได้ส่งข้อมูลทางอีเมลถึง คุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา ขณะนั้นดำรงตำแหน่งผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ภายหลังการประมูลไม่นาน จนนำไปสู่การนัดพบเพื่อให้ข้อมูล และตรวจสอบข้อเท็จจริง
นายวีระ สมความคิด เลขาธิการเครือข่ายประชาชนต้านคอร์รัปชัน (คปต.) เป็นผู้ยื่นร้องเรียนต่อกองบังคับการ กองปราบปราม เพื่อให้ทำการสอบสวนเกี่ยวกับเรื่องนี้ แต่ไม่ได้รับความสนใจ เรื่องได้ถูกดองไว้ (ก่อนการรัฐประหารปี49)
ต่อมาเมื่อเกิดรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549 คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) ได้ออกประกาศ คปค. ฉบับที่ 30 ลงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2549 แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.)
และ นายวีระ สมความคิด จึงได้นำเรื่องนี้เสนอต่อ คตส. ให้ตรวจสอบพฤติกรรมทุจริตประพฤติมิชอบของ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร และครอบครัวอีกครั้ง
คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ ถึงได้มีมติรับเรื่องนี้ไว้พิจารณา และแต่งตั้งนายนาม ยิ้มแย้ม ประธาน คตส. เป็นผู้รับผิดชอบ
-----------------------
ที่เสื้อแดงบอกว่า เขียนกฎหมายเอาผิดคน ๆ เดียว หมายถึง ?
เพราะ คปค. (ชื่อเดิม) หรือ คมช. ได้ทำรัฐประหารล้มรัฐธรรมนูญ ฉบับ 2540 และ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญไปแล้ว
แต่ต่อมาอีกไม่กี่วัน
คปค. ได้ออกประกาศคำสั่งฉบับที่ 27 ว่า คดีใดที่ดำเนินการอยู่ก่อนหน้าการรัฐประหาร หรือมีการร้องเรียนมาก่อนการรัฐประหาร ตามรัฐธรรมนูญฉบับ 2540 ก็ให้ดำเนินการต่อไปได้ ให้ถือเป็นข้อยกเว้น คดีเหล่านั้นไม่ถูกล้มล้างไปกับการรัฐประหารด้วย เพื่อไม่ต้องการให้พวกมีคดีค้างเก่าได้ประโยชน์จากการรัฐประหาร
ทำให้ดูเสมือนว่า เขียนกฎหมายเพื่อเอาผิดย้อนหลังทักษิณด้วย เหตุเพราะรัฐธรรมนูญ 2540 และพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ ซึ่งถูกการัฐประหารล้มไปแล้ว
ซึ่งตามมาด้วยการประกาศคปค. ฉบับที่ 30 เพื่อแต่ง คตส. ขึ้นมาตรวจสอบทักษิณ ในหลายๆ คดี
-----------------------
สาระสำคัญของประกาศคปค. ฉบับที่ 27
ประกาศ คปค. ฉบับที่ 27 เรื่อง การแก้ไขคณะปฏิรูปการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 15 ลงวันที่ 21 กันยายน พ.ศ.2549
ตามที่ได้มีประกาศคณะปฏิรูปการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ฉบับที่ 15 ลงวันที่ 21 กันยายน พ.ศ.2549 ให้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พุทธศักราช พ.ศ.2541 มีผลบังคับใช้ต่อไปนั้น เพื่อให้มีผลชัดเจนในการมีผลบังคับใช้ของกฎหมายดังกล่าว รวมทั้งกำหนดเรื่องการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของผู้เกี่ยวข้องกับการกระทำการต้องห้ามตามกฎหมายนั้น คณะปฏิรูปการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข จึงมีประกาศดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกประกาศข้อ 1 ของ คณะปฏิรูปการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 15 ลงวันที่ 21 กันยายน 2549 และให้ใช้ความต่อไปนี้
ข้อ 1 การยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยมิให้กระทบกระเทือนพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2541 โดยพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2541 จะคงบังคับใช้ต่อไปจนกว่าจะมีกฎหมาย แก้ไข เพิ่มเติม หรือยกเลิก
ข้อ 2.การห้ามพรรคการเมืองดำเนินการประชุมหรือดำเนินกิจการใดๆ ทางการเมือง ตามประกาศคณะปฏิรูปการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ฉบับที่ 15 ลงวันที่ 21 กันยายน พ.ศ.2549 ให้ยังคงมีผลบังคับใช้ต่อไป จนกว่าคณะรัฐมนตรีจะมีมติเป็นอย่างอื่น
ข้อ 3.ในกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญ หรือองค์กรอื่นที่ทำหน้าที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งให้ยุบพรรคการเมืองใดเพราะเหตุกระทำตามต้องห้ามตามราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยพรรคการเมืองพุทธศักราช 2541 ให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของกรรมการบริหารพรรคการเมืองนั้นมีกำหนด 5 ปี นับตั้งแต่วันที่มีคำสั่งให้ยุบพรรค
ข้อ 4.ผู้ใดถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง โดยคำสั่งของศาลตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พุทธศักราช 2541 ก่อนวันที่ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 3 ลงวันที่ 19 กันยายน พ.ศ.2549 ใช้บังคับ ให้ผู้นั้นยังคงถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งตามคำสั่งของศาลต่อไป
ประกาศ ณ วันที่ 30 กันยายน พศ.2549
พลเอกสนธิ บุญรัตนกลิน
หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
--------------------------
การแก้ตัวด้วยตรรกะที่ว่าเขียนกฎหมายเอาผิดย้อนหลังของทักษิณ ของเสื้อแดง มันเป็นตรรกะเพื่อเอาตัวรอดเท่านั้น เพราะในความเป็นจริง คงไม่อาจปฏิเสธได้ว่า ทักษิณทำผิดจริงๆ
อย่างหมอตุลย์ เคยถาม บก.ลายจุด ในรายการคมชัดลึก ว่า
หากไม่พูดเรื่องรัฐประหาร ขอถามว่า บก.ลายจุด คิดว่า ทักษิณไม่ได้ทำผิดกฎหมายจริงหรือไม่
บก.ลายจุด อึ้งและไม่ยอมตอบ !!??
หากใช้ทฤษฎีสมคบคิด ของบิ๊กบังสนธิ กับทักษิณ ที่ผมเคยเขียนไว้ในบทความเก่า เช่นเรื่อง
1. ฤาคมช.ทำรัฐประหารคือแผนทักษิณ
2. สาเหตุที่ ทรราชทักษิณ ปรองดองกับ เผด็จการบิ๊กบัง สนธิ
3. บังสนธิ เสธ.หนั่น คางคกตู่ & แผนปรองดองกำมะลอ
4. แก้มาตรา 309 ทักษิณมีไว้หลอกฟายแดง
คุณผู้อ่านจะ มองได้ทันทีเลยว่า การรัฐประหาร 2549 ของคมช. กลับทำให้ทักษิณมีความได้เปรียบในการใช้ประเด็นเผด็จการใส่ร้ายทักษิณ อ้างความชอบธรรมเพื่อเอาไว้หลอกพวกฟายแดงหน้าโง่ทั้งหลาย
ทำให้พวกฟายแดงต่างหลงเชื่อกันว่า ถ้าไม่มีการรัฐประหาร ทักษิณย่อมไม่มีความผิด ถุย !!
คดีที่ดินรัชดา มันเกิดก่อนรัฐประหาร และใช้กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญปี40 มาตรา 100 พ.ศ.2542 แล้ว
นั่นเพราะไอ้พวกฟายแดง มันเอาแต่ฟังแกนนำควายๆ ไม่หาข้อมูลให้ชัดเจน หลงเชื่อว่า ทักษิณถูกใส่ร้าย
ประเทศชาติที่วุ่นวาย เพราะฟายแดงมันมีมากเกินไปนั่นแหละครับ
--------------
ส่วนคำวินัจฉัยของศาล กรณี คมช. ได้ออกกฎหมายเอาผิดย้อนหลังทักษิณหรือไม่ ก็ตามนี้
"...ในการทำรัฐประหารเพื่อยึดอำนาจการบริหารประเทศในแต่ละครั้งนั้น ผู้กระทำการรัฐประหารมีความประสงค์ที่จะยึดอำนาจอธิปไตยที่ใช้ในการปกครองประเทศ ซึ่งก็คือ อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการมารวมไว้ โดยให้มีผู้ใช้อำนาจดังกล่าวแต่เพียงผู้เดียว หรือคณะบุคคลคณะเดียวเท่านั้น มิได้มีความประสงค์จะล้มล้างระบบกฎหมายของประเทศทั้งระบบแต่อย่างใด
แม้แต่อำนาจตุลาการซึ่งเป็นอำนาจหนึ่งในอำนาจอธิปไตย ก็ยังปรากฏเป็นข้อที่รับรู้กันทั่วไปว่า ตามปกติผู้ทำการรัฐประหารจะยังคงให้อำนาจตุลาการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งศาลยุติธรรม มีอำนาจพิจารณาพิพากษาอรรถคดีต่อไปได้ คงยึดอำนาจไว้แต่เฉพาะอำนาจนิติบัญญัติและอำนาจบริหารเท่านั้น
คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ยึดอำนาจนิติบัญญัติและอำนาจบริหารมารวมไว้ที่คณะปฏิรูปการปกครองฯ ส่วนอำนาจตุลาการยังคงให้ศาลยุติธรรมใช้อำนาจพิพากษาอรรถคดีตามบทกฎหมายต่อไป แสดงให้เห็นว่า บรรดาบทบัญญัติแห่งกฎหมายต่างๆ ซึ่งได้ตราขึ้นและมีผลใช้บังคับอยู่แล้ว ในขณะที่มีการยึดอำนาจนั้น หาได้ถูกยกเลิกไปด้วยแต่ประการใดไม่
ดังนั้น แม้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย การป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 จะเป็นกฎหมาย ประกอบรัฐธรรมนูญ 2540 ที่บัญญัติให้ตราขึ้นใช้บังคับก็ตาม แต่เมื่อมีการตราขึ้นใช้บังคับโดยชอบแล้ว พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญดังกล่าวย่อมมีสถานะเทียบเท่าพระราชบัญญัติทั่วไป กล่าวคือ หากไม่ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญแล้วย่อมมีความสมบูรณ์และดำรงความเป็นกฎหมายอยู่ในตัวเอง สามารถนำไปใช้บังคับแก่กรณีต่างๆ ได้ โดยหาจำต้องอาศัยความดำรงคงอยู่ของรัฐธรรมนูญที่ให้อำนาจในการตราพระราชบัญญัติดังกล่าวไม่เป็นการสิ้นผลหรือการยกเลิกพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญจึงต้องใช้หลักเกณฑ์ทั่วไปในการยกเลิกโดยชัดแจ้งเท่านั้น"
คลิกอ่าน คดีที่ดินรัชดา ในมุมมองใหม่เมืองเอก
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
ร่วมฮาแม้วจรจัด!! ถ้าไม่ชอบก็ผ่านไป ถ้าชอบใจก็ขอเสียงเชียร์ และขออภัยหากทำให้พวกคาราบาวแดงกระอัก ^^