วันอังคารที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ความโง่ของนิติราษฎร์กับการตีความมาตรา68 (ตอน1)






ตอนนี้ปัญหาการตีความมาตรา68 ในรัฐธรรมนูญ50 กำลังเป็นประเด็นที่พูดถึงร้อนแรงในขณะนี้ โดยเฉพาะหมารับใช้แม้วอย่างนิติราษฎร์ นักวิชาการกฎหมายแท้ๆ กลับโชว์โง่เพื่อช่วยคนชั่วอย่างทักษิณ

เขาถึงว่า ความชั่วทำให้คนโง่ลง เป็นนักกฎหมายแท้ๆ แต่กลับตีความกฎหมายแบบโง่ๆ โดยนิติราษฎร์ตีความว่า ผู้ที่มีสิทธิยื่นต่อคำร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยต้องเป็นอัยการสูงสุดเท่านั้น (มันไม่ใช่!!)

และเมื่อหัวค่ำของวันที่4 มิ.ย. 55 ผมโพสสั้นๆ ลงเฟซบุ๊คของผม อธิบายความหมายในมาตรา68 คร่าวๆไปแล้ว แต่เพื่อให้ชัดเจนแจ่มแจ๋ว ผมเลยขอมาเขียนบทความอธิบายอีกในบล็อค

ก่อนอื่นดูมาตรา68 ในรัฐธรรมนูญ50 กันก่อนครับ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย!!

(คลิกดูที่เฟสบุ๊ค)


โปรดทราบอย่างนึงก่อนนะครับ คำว่า และ กับ หรือ ในภาษากฎหมายจะไม่เหมือนในวิชาภาษาไทย  ซึ่งก็เป็นแบบนี้กันทั้งโลกเลยล่ะครับ

ทีนี้เราดูมาประโยคนี้ครับ

"ผู้ทราบการกระทำดังกล่าว ย่อมมีสิทธิเสนอเรื่องให้อัยการสูงสุดตรวจสอบข้อเท็จจริง และยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย.."

จากรูปด้านบน ในประโยคนี้ มีประโยคหลัก(เส้นใต้สีแดง) และประโยครอง(เส้นใต้สีน้ำเงิน) ซึ่งทั้งสองประโยคมีประธานของประโยคคือคนๆเดียวกันคือ "ผู้ทราบการกระทำ" เป็นผู้กระทำกริยาทั้งสองคือ เสนอ กับ ยื่นคำร้อง

ส่วนอัยการ เป็นกรรมของประโยคหลัก และศาลรัฐธรรมนูญ เป็นกรรมของประโยครอง

ตามหลักภาษาและการเชื่่อมประโยค อยู่ๆ จะให้กรรมของประโยคหลักมาเป็นประธานของประโยครองไม่ได้

ดังนั้นประโยคข้างต้นจึงแปลได้เต็มๆ ว่า "ผู้ทราบการกระทำมีสิทธิเสนอเรื่องให้อัยการสูงสุดตรวจสอบ และผู้ทราบการกระทำยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย"

ฉะนั้น ผู้ที่ยื่นคำร้องจึงไม่ใช่อัยการสูงสุด (แต่ผู้ยื่นคำร้องอาจใช้สิทธิยื่นผ่านไปทางอัยการสูงสุดก็ได้)

อธิบายแบบนี้พอเข้าใจมั้ยครับ?

------------------------

ตัวอย่างประโยคแบบง่าย

ถ้ายังไม่ค่อยเข้าใจ ผมจะยกตัวอย่างประโยคพื้นๆ ให้ดู เช่น

"บ่อยครั้งผมจะนำการบ้านไปให้แม่ตรวจทานก่อน และไปส่งให้คุณครูในวันรุ่งขึ้น"

ผม คือประธานของประโยค ซึ่งได้กระทำกริยาทั้ง2อย่างคือ ผมนำการบ้านให้แม่ตรวจ และผมก็ไปส่งให้คุณครูในวันรุ่งขึ้น

แต่ถ้าใช้วิธีคิดโง่ๆ แบบนิติราษฎร์ ก็ต้องแปลว่า แม่คือคนไปส่งการบ้านให้คุณครู!?!

----------------------

คำว่า สิทธิ

คำว่าสิทธิ หมายถึง จะใช้สิทธิก็ได้ ไม่ใช้สิทธิก็ได้

การใช้สิทธิ จึงไม่ใช่การบังคับว่า ต้องกระทำ!!

จากประโยค "ผู้ทราบการกระทำมีสิทธิเสนอเรื่องให้อัยการสูงสุดตรวจสอบข้อเท็จจริง และยื่นคำร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย.."

(ผู้ทราบการกระทำ ก็คือ ผู้ยื่นคำร้อง)

คำว่าสิทธิ ในที่นี้จึงหมายถึง ผู้ยื่นคำร้องมีสิทธิที่จะยื่นเรื่องให้อัยการสูงสุดตรวจสอบข้อเท็จจริงก่อนก็ได้ หากผู้ยื่นคำร้องไม่แน่ใจในข้อกฎหมาย

แต่ถ้าผู้ยื่นคำร้องมั่นใจในข้อกฎหมายดีแล้ว ไม่ต้องการใช้สิทธิตรงอัยการสูงสุดนี้ ก็สามารถยื่นเรื่องไปที่ศาลรัฐธรรมนูญได้เลย


------------------------

ถ้าจะกำหนดให้อัยการสูงสุดเป็นผู้ยื่นได้เท่านั้น

ถ้าจะกำหนดให้อัยการสูงสุดเป็นผู้ยื่นได้เท่านั้น ต้องเขียนใหม่ว่า

"ผู้ทราบการกระทำต้องยื่นเรื่องให้อัยการสูงสุดตรวจสอบข้อเท็จจริง และให้อัยการสูงสุดเป็นผู้ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย.."

ซึ่งในมาตรา68 จริงๆไม่ได้เขียนแบบนี้ ฉะนั้นจึงแปลความว่า อัยการสูงสุดจึงไม่ใช่ผู้ยื่นคำร้องได้แต่เพียงผู้เดียวเท่านั้น แต่ใครจะยื่นก็ได้

-----------------------

เจตนาของมาตรา68

เพราะเรื่องความมั่นคงของชาติเป็นเรื่องสำคัญ และเพื่อป้องกันพวกมากลากไปหรือมีวาระซ่อนเร้นทำลายการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข จนเป็นเหตุกระทบถึงความมั่นคงของชาติ จึงต้องมีมาตรานี้เพื่อให้ศาลสามารถเข้าตรวจสอบก่อนได้

และที่ให้โอกาสใครก็ได้ยื่นเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ก็เพราะเรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญมาก หากให้อำนาจแก่อัยการสูงสุดคนเดียวเท่านั้น อาจเป็นอันตรายได้ เพราะอัยการอาจถูกอำนาจเงินซื้อก็ได้

ในคดีความต่างๆ เราคงเคยเห็นมาแล้วว่า อัยการสูงสุดมีคำสั่งไม่ฟ้อง แบบค้านสายตาประชาชน

------------------------

ก่อนจะจบ

เพื่อป้องกันพวกฟายแดงอ้างว่า รัฐธรรมนูญ50 แกล้งรัฐบาลของทักษิณอีก

ผมจึงอยากจะบอกว่า มาตรา68 ในรัฐธรรมนูญ50 เหมือนและตรงกับมาตรา63 ในรัฐธรรมนูญ40


---------------------

แถม

แถลงการณ์ของเพื่อไทยตอบโต้ปชป. เมื่อปีที่แล้ว

คลิกที่รูปเพื่อขยาย!!




คลิกอ่าน ความโง่ของนิติราษฎร์กับการตีความมาตรา68 ตอน2






8 ความคิดเห็น:

  1. คุณ ake ช่วยวิจารณ์ คำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญ 25 พ.ค.49 ศาลรัฐธรรมนูญปัดคำร้องยุบพรรค ปชป. อ้างไม่เข้าข่ายมาตรา63ต้องอัยการสูงสุดส่งมาเท่านั้น ด้วยครับ

    ตอบลบ
  2. ผิดแล้วครับ คุณอ่านมาผิดแล้ว กลับไปอ่านคำตัดสินมาใหม่นะครับ ผมได้อ่านแล้วไม่เห็นว่าศาลตัดสินผิดตรงไหน หรือตรงกับที่คุณอ้างตรงไหน

    ไปอ่านใหม่นะครับ http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1291030368&grpid=no&catid=02

    ตอบลบ
  3. ไม่ระบุชื่อ4 ตุลาคม 2556 เวลา 13:45

    แปลไทยให้เป็นไทย
    1. ในกฎหมายอธิบายชัดเจนอยู่แล้ว ในส่งให้อัยการตรวจสอบข้อเท็จจริง คนที่พิจารณาในขั้นแรกก็คืออัยการสูงสุดที่จะยื่นต่อหรือไม่ แล้วคนที่ยื่นก็ต้องเป็นอัยการสูงสุดสิ common sense
    2. รัฐธรรมนูญใช้ภาษาไทยเขียน คำว่า และ/หรือ ก็ต้องใช้หลักภาษาไทยตีความ ซึ่งคำว่า "และ" ในรัฐธรรมนูญ มันคือขั้นตอนที่ต่อจากข้อความข้างหน้า
    ถ้าจะตีความแบบคุณเขียน เขาก็ใช้หรือแต่แรกแล้วสิ
    3.ตัวอย่างการบ้าน มันเป็นการยกประโยคมาประบให้เข้ากับความเห็นตัวเองมากกว่าที่จะมาอนุมานใช้ในกฎหมายรัฐธรรมนูญ

    นึกว่าจะแน่ คุณมันอ่อนอ่ะ อย่าไปเทียบกับนิติราษฎร์เขา

    ตอบลบ
  4. ไม่ระบุชื่อ4 ตุลาคม 2556 เวลา 14:00

    คำถามนะ
    1. เจตนารมณ์กฎหมายคืออะไร ถ้าใครทุกคนคิดในความคิดของตัวเองว่าเป็นการกระทำที่ล้มล้างรัฐธรรมนูญ ถ้ากฎหมายมีเจตนาให้ทุกคนยื่นได้ แล้วจะกำหนดอัยการสูงสุดมาทำไม กฎหมายเขียนกำหนดให้ยื่นตรงต่อศาลไม่ดีกว่าเหรอ

    ตอบลบ
  5. ไม่ระบุชื่อ4 ตุลาคม 2556 เวลา 14:16

    2. ถ้าสมมติว่าสิ่งที่คุณวิเคราะห์ถูก สมมติว่ามีคนเห็นว่ามีการล้มล้าง และยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญโดยตรงสัก 500 คน ศาลต้องมาลงมติรับ/ไม่รับ ทั้ง 500 กรณี ถ้ารับมาแล้ว ต้องมาพิจารณาเฉพาะเรื่องนี้ คดีก็ล้นศาล......เขาเลยให้อัยการสูงสุดพิจารณากลั่นกรองในขั้นแรกก่อน

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. แต่สิ่งปรากฏคือ ศาลตีความเหมือนที่ผมอธิบาย ผมว่าคุณไปอ่านอีกบทความต่อเนื่องกัน ในตอน 2

      ที่คุณกล่าวเหตุผลแบบแถ ๆ มา เพราะคุณยังไม่ได้อ่าตอน 2

      ผมมีตัวอย่าง ผู้ที่ยื่นต่อศาลได้ คือ นายทะเบียนพรรคการเมือง

      และแม้ศาลจะตีความว่า ใคร ๆ ก็สามารถยื่นตรงได้ ถามหน่อย แล้วตอนนี้ มีประชาชนสักคนไหมที่ไปยื่นคดีให้ศาล

      คำตอบคือไม่มี เพราะแม้ใครยื่นก็ได้ แต่เขาก็ต้องมีเหตุผลรองรับเพียงพอในการยื่น

      ฉะนั้นการอ้างว่า คดีจะล้นศาล รธน. จึงไม่เเคยเกิดขึ้น

      แล้วคุณควรไปเรียนหลักภาษาไทยใหม่ซะนะ

      ลบ
    2. การเขียนให้มีอัยการสูงสุดในการยื่น เพราะรธน. หวังให้อัยการสูงสุดได้กลั่นกรองก่อนหนึ่งชั้น

      แต่ถามหน่อยคดีที่อัยการสูงสุดรับผิดชอบ มันน้อยหรือ

      หากเมื่ออัยการสูงสุดไม่เปนกลาง เอนเอียง ไม่ยื่น ก็จะทำให้คดีตกไปเลยหรือ ?

      ซึ่งไม่จริง ในคดีอื่นๆ หากอัยการสูงสุดไม่ยื่น ผู้เสียหายก็ยื่นฟ้องเองได้เช่นกัน

      แล้วเรื่องการล้มล้างการปกครองนั้น ถ้าให้อัยการสูงสุดยื่นคนเดียวมันไปขัดกับ รธน. อีกข้อ ซึ่งตามไปอ่านได้ที่ตอน 2 เข้าใจ๋

      ที่คุณแสดงความเห้นมาน่ะ มีแต่ความเชื่อ มากกว่าเหตุผลรองรับนะ

      ลบ
    3. และในรูปประโยค อัยการสูงสุดเป็นกรรมในประโยคแรก จะมาเป็นประธานต่อในประโยค 2 ไม่ได้

      ไปเรียนภาษาไทยใหม่ซะนะ ย้ำ 5555

      ลบ

ร่วมฮาแม้วจรจัด!! ถ้าไม่ชอบก็ผ่านไป ถ้าชอบใจก็ขอเสียงเชียร์ และขออภัยหากทำให้พวกคาราบาวแดงกระอัก ^^