วันพุธที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555
ทำไมโอบามาถึงไหว้ ซูจี และจูบซูจี ?
ประเทศไทย ใครๆ ในโลกรู้ดีว่า การไหว้แบบไทยนั้นมีเสน่ห์ที่สุด สวยที่สุดในโลก การไหว้แบบไทยแล้วกล่าวทักทายด้วยคำว่า "สวัสดี" คือ สิ่งที่ชาวโลกรู้จักกันดี
เอกลักษณ์การไหว้ของคนไทย ผมมั่นใจว่า เป็นที่รู้จักและยอมรับมากกว่าการไหว้ของชาวเอเซียชาติอื่น ๆ
แต่ทำไมหนอ เอกลักษณ์ที่ดีที่สุดของวัฒนธรรมไทย กลับไม่ได้ถูกนำมาใช้ในการต้อนรับประธานาธิบดีโอบามาให้ประจักษ์ชัดไปทั่วโลกเล่า
แต่ผมกลับเห็นโอบามา ไหว้นางอองซาน ซูจี แทน
นั่นเพราะ เมื่ออองซาน ซูจี เริ่มทักทายโอบามา ด้วยการไหว้ก่อน ก็ย่อมได้รับการไหว้ตอบจากโอบามา เช่นกัน
แต่ผมกลับไม่เห็นรูปนายกฯ ยิ่งลักษณ์ไหว้สวัสดีโอบามาเลยนะ ? หรือผมตกข่าวไป ?
ผมกลับเห็นแต่ นายกฯ ยิ่งลักษณ์ ส่งสายตายั่วยวนโอบามา มากมายหลายรูปแทน!!
------------------------
ผมชอบรูปนี้มาก เพราะดูซูจีออกอาการเขินเล็กน้อย
นางอองซาน ซูจี เธอเรียนจบมหาวิทยาลัยอ๊อกฟอร์ด และได้มีสามีเป็นชาวอังกฤษ เธอได้ใช้ชีวิตอยู่ในอังกฤษนานหลายปี จนมีลูกชาย 2 คน กับสามีชาวอังกฤษ เธอจึงย่อมเข้าใจขนบธรรมเนียมวัฒนธรรมของชาวตะวันตกเป็นอย่างดี
เมื่อวันหนึ่งแม่ของซูจีป่วยมาก ซูจีจึงได้กลับมาพม่าเพื่อดูแลแม่ในวาระสุดท้ายของแม่ ซึ่งในขณะนั้นพม่ากำลังมีปัญหาความรุนแรงจากการปราบปรามประชาชนที่ต่อต้านรัฐบาลทหาร
หลังจากมาดูแลแม่จนแม่เธอเสียชีวิตไป ซูจีจำต้องตกกระไดพลอยโจนได้มาเป็นผู้นำกลุ่มต่อต้านรัฐบาลทหารพม่าด้วย เพราะในฐานะที่เธอเป็นลูกสาวของนายพลอู อองซาน นายกรัฐมนตรีคนแรกของพม่า ผู้นำปฏิวัติพม่าจนทำให้พม่าได้รับเอกราขจากสหราชอาณาจักรในเวลาต่อมา (นายพลอองซาน เสียชีวิตจากการถูกลอบสังหารก่อนที่พม่าจะได้รับเอกราชจากอังกฤษ1ปี)
“ตอนที่ดิฉันเดินทางกลับมาพม่าเมื่อ พ.ศ. 2531 เพื่อมาพยาบาลคุณแม่นั้น ดิฉันวางแผนไว้ว่าจะมาริเริ่ม ทำโครงการเครือข่ายห้องสมุดในนามของคุณพ่อด้วย เรื่องการเมืองไม่ได้อยู่ในความสนใจของดิฉันเลย แต่ประชาชนในประเทศของดิฉันกำลังเรียกร้อง ประชาธิปไตย และในฐานะลูกสาวของพ่อ (นายพลอองซาน) ดิฉันรู้สึกว่าเป็นหน้าที่ที่ดิฉัน ต้องเข้าร่วมด้วย”
นางอองซาน ซูจี จึงไม่ได้กลับอังกฤษอีกเลยนับจากนั้น เพื่ออยู่เป็นผู้นำประชาชนเรียกร้องประชาธิปไตยตามคำขอร้องจากประชาชน จนนายพลเนวิน ผูันำรัฐบาลทหารพม่าในขณะนั้น ต้องยอมลาออกจากตำแหน่งและเปิดโอกาสให้มีการเลือกตั้งเกิดขึ้น
การปราศัยครั้งแรกของซูจี ที่มีประชาชนมาร่วมฟังมากไม่ต่ำกว่่า 5แสน จนอาจถึง 1ล้านคน
หลังจากเธอต้องมาเป็นผู้นำประชาชน จนมาเป็นหัวหน้าพรรค NLD ซึ่งพรรคของเธอก็ได้ชนะการเลือกตั้งอย่างท่วมท้น แต่รัฐบาลทหารพม่ากลับไม่ยอมรับผลการเลือกตั้ง จึงได้ล้มการเลือกตั้งครั้งนั้นลง และขอให้ซูจีเดินทางกลับอังกฤษ ซึ่งหากเธอไม่ยอมกลับอังกฤษ เธอก็จะต้องถูกจองจำภายในบ้านของเธอเอง
ซูจี เธอรักสามีกับลูกของเธอมากก็จริง แต่เธอก็ละทิ้งประชาชนพม่าที่ฝากความหวังไว้กับเธอไปไม่ได้เช่นกัน ซูจีเลือกทำหน้าที่เพื่อประชาชน จึงตัดสินใจไม่กลับอังกฤษ ยอมที่จะถูกจองจำในบ้านตัวเอง
ซูจี ทำได้อย่างมากคือ ปีนขึ้นมาตรงรั้วบ้านเพื่อทักทายประชาชนที่สนับสนุนเธอ
เมื่อผมลองเข้าไปนั่งในความคิดของผู้หญิงคนนึง ที่ต้องเลือกระหว่างกลับไปหาลูกและสามี แต่จะไม่มีวันได้กลับเข้าพม่าได้อีก
การที่ผู้หญิงคนนึง โดนกักบริเวณในบ้าน ห้ามออกจากบ้าน ในปีแรกอาจจิตใจกล้าแกร่ง แต่พอเวลาผ่านไปๆๆๆๆๆๆ ไม่รู้ว่าชีวิตนี้จะได้ออกจากบ้านอีกหรือไม่ จิตใจของคนอ่อนแออาจยอมแพ้ก็ได้
ถ้าหากเธอตัดสินใจกลับอังกฤษ ก็ทำได้ทันที แต่จะไม่มีวันได้กลับมาหาประชาชนของเธอได้อีกตลอดชีวิต
ผมว่า คนที่ยอมทิ้งทุกอย่าง โดยไม่รู้ว่าจุดจบจะเป็นอย่างไร หรือต้องรอนานแค่ไหน หรืออาจต้องตายในบ้าน และอาจไม่มีทางได้ประชาธิปไตยเลย มันยากมากนะ สำหรับผู้หญิงคนนึงที่ต้องจากลูก2คน และสามีที่ป่วยเป็นมะเร็งระยะสุดท้าย
ผมเพิ่งจะรู้จากในหนังเรื่องอองซานซูจีว่า ที่อองซาน ซูจีได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ ที่แท้เพราะสามีของเธอเป็นคนพยายามวิ่งเต้น และหาทางเสนอชื่อของเธอ รวมทั้งส่งผลงานโดยเฉพาะงานเขียนของเธอ เพื่อหวังให้เธอได้รับรางวัลโนเบล
เหตุผลก็คือ สามีของเธอต้องการปกป้องเธอให้มีชีวิตรอดจากการสังหารของรัฐบาลทหารพม่า เพราะหากเธอได้รางวัลโนเบล ก็จะเสมือนมีเกราะป้องกันเธอให้ปลอดภัยได้อีกชั้นนึง
ซูจี ถูกกักในบ้านของเธอ2 ครั้ง เป็นเวลานานรวม 21 ปี เพิ่งจะได้อิสรภาพเมื่อไม่นานมานี้เอง
สามีและลูกชายของซูจี เดินทางไปรับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพแทนเธอ เมื่อปี ค.ศ. 1991
สามีของซูจี ป่วยเป็นมะเร็งจนกระทั่งเสียชีวิต โดยที่ซูจีไม่มีโอกาสแม้กระทั่งกลับไปเยี่ยมสามี และจัดงานศพให้สามีของเธอเลย
ซูจี ขณะถูกจองจำในบ้านพัก
-----------------------------------
ทำไมโอบามา จูบ ซูจี
ก็จากที่กล่าวมา ซูจี แม้จะเข้าใจวัฒนธรรมตะวันตกเป็นอย่างดี แต่เธอก็พยายามอนุรักษ์ประเพณีวัฒนธรรมพม่า เช่นการแต่งกายด้วยชุดประจำชาติพม่าแทบตลอดชีวิต
เพราะไม่ว่าเธอจะเดินทางไปที่ใดในโลก ซูจีก็ภูมิใจจะที่อวดชาวโลกด้วยชุดประจำชาติพม่าที่เธอภูมิใจเสมอ
ส่วนโอบามา ก็ได้ศึกษาเรื่องราววัฒนธรรมของประเทศนั้น ที่เขาจะต้องเดินทางไปเยือนเป็นอย่างดี
โอบามา ก็คงเข้าใจวัฒนธรรมไทยพอสมควรว่า คนไทยไม่ชอบการทักทายด้วยการจูบ เพราะมันเป็นวิถีของคนไทย โอบามาจึงไม่จูบทักทายกับยิ่งลักษณ์ แม้ในใจและสายตายิ่งลักษณ์จะพยายามเรียกร้องอยู่ก็ตาม 555
วันนี้ นางซูจี มีอายุ 67 ปี ในขณะที่โอบามา อายุ 51 ปี ซึ่งเป็นรุ่นราวคราวลูกของซูจีได้เลย เพราะนาย Alexander Aris ลูกชายคนโตของซูจี ก็อายุ 39 ปี
นาย Alexander Aris ลูกชายคนโตของซูจี
ฉะนั้น การที่โอบามา โอบกอดซูจี และจูบซูจี นั้น
นอกจากเป็นวัฒนธรรมตะวันตกแล้ว มันมีอะไรที่มากกว่านั้น เพราะนี่คือการแสดงออกของโอบามาที่รู้สึกชื่นชมซูจี และเป็นการให้กำลังใจแก่ซูจีด้วย เพราะกว่าที่จะมาถึงวันที่ทั้งสองคนได้มาพบกัน มันมีเรื่องราวที่มากมายเหลือเกิน ที่ซูจีต้องผ่านมา..
ความเห็นของเพื่อนในเฟซบุ๊คผม
โอบามา คือประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกาคนแรก ที่ได้มาเยือนพม่าอย่างเป็นทางการ และมันยากเหลือเกินที่ประธานาธิบดีคนแรกของสหรัฐ จะได้มีโอกาสมาพบวีรสตรีประชาธิปไตยที่ยิ่งใหญ่ของโลกอย่างซูจี
การที่ผู้นำคนสำคัญของโลก ทั้งสองคนจะได้มาพบกันจึงเป็นเรื่องที่ยิ่งใหญ่มากๆ ในสายตาของสื่อมวลชนทั่วโลก สำคัญยิ่งกว่าข่าวโอบามาพบเต็งเส่ง ผู้นำพม่า เสียอีกครับ
โอบามา พบ ซูจี คือสิ่งมหัศจรรย์
ส่วนโอบามา พบ หุ่นเชิดทรราช ก็แค่ปาหี่ทางการเมือง เท่านั้น
คลิกอ่าน สะใจ โอบามา จูบ ซูจี เย้ย ปู
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
วิเคนาะห์ได้มีเหตุผล เดี๋ยวสักพักพวกบัวใต้ตมจะมาแสดงความกักขฬระ
ตอบลบเมื่อพูดดีมีเหตุมีผลก็รับฟังและยอมรับ ทำไมถึงคิดว่าคนอื่นจะเหมือนตัวเองอยู่เรื่อย.
ลบk542
บทความใช้คำว่า "จูบ " ไม่ถูกต้องนะคะ
ตอบลบเพราะภาพที่เห็นเพียงแค่โอบกอดและหอมตามมารยาทของฝรั่งเท่านั้น
การจูบ เป็นการทักทายแบบฝรั่งครับ ใช้คำว่าจูบ น่ะถูกต้องแล้ว เพราะหอมคือการใช้จมูก แต่การจูบคือการใช้ริมฝีปาก
ลบไปเชื่อไปดูรูปจูบชัดๆ จะจะ ที่บทความก่อนหน้านี้สิครับ
คลิกที่นี่